วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ใบความรู้ทเรื่องประวัติศาสตร์1

วิสัยทัศน์   (VISION)

             มีคุณธรรม  นำวิชาการ    สืบสานความเป็นไทย
             ก้าวไกลเทคโนโลยี           บนวิถีความพอเพียง
พันธกิจ (MISSION)

1.  ยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ
2.  จัดการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.  สร้างโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  เพื่อมุ่งพัฒนา
     ศักยภาพของบุคลากรอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
4.  ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้เรียน
     ให้มีความรู้และความสามารถเต็มตามศักยภาพและ
     มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
5.  ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้  ให้มีคุณภาพและทันสมัย 
     มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นปลอดภัย 
      เอื้อต่อการเรียนรู้
6.  ส่งเสริมและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพเพื่อรองรับ
     การประเมินจากองค์กรภายนอก
7.  ส่งเสริมให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา
     คุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ท้ายแผนพอเพียง

๑.การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้
๑.๑  ผู้สอนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้อย่างไร
            ห่วง

ประเด็น
พอประมาณ
มีเหตุผล
ภูมิคุ้มกันที่ดี
๑. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
วางแผนการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับมาตรฐาน และตัวชี้วัดในหลักสูตร 

การเรียนรู้แบบโครงงานช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์  และกระบวนการทำงานกลุ่มของนักเรียน
กำหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้
๒. การกำหนดประเด็นศึกษาของโครงงาน
กำหนดประเด็นศึกษาของโครงงานแบ่งเป็น ๕   ประเด็น คือ การแพทย์แผนไทย  หัตถกรรม  พื้นบ้าน  อาหารพื้นเมือง
ขนมพื้นเมือง
ประเพณีท้องถิ่น
เพื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียน  และสอดคล้องกับบริบทของชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่
วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของเอกลักษณ์ของชาติที่เยาวชนไทยควรเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่คู่กับสังคมไทยสืบไป

กำหนดให้นักเรียนศึกษาจากกรณีศึกษาในหมู่บ้านหรือชุมชนที่ตนอาศัยอยู่เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการสัมภาษณ์และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ   ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๓. ภาระงาน
กำหนดภาระงานคือให้สัมภาษณ์และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นักเรียนสนใจและอยู่ในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่
การเรียนรู้แบบโครงงานการลงมือปฏิบัติจริงจะช่วยให้นักเรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย  ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น
 การสัมภาษณ์และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่  สะดวกและปลอดภัยสำหรับนักเรียนในการลงพื้นที่ 
๔. เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรม
กำหนดเวลาให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเองจาก     ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเวลา ๑ เดือน  เพื่อให้นักเรียนมีเวลาสำหรับการสัมภาษณ์และฝึกปฏิบัติ
การศึกษาด้วยตนเองในชุมชนนักเรียนต้องการเวลาสำหรับการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล การสัมภาษณ์ และการฝึกปฏิบัติ
การเขียนเค้าโครงโครงงานก่อนลงมือปฏิบัติจริง  เพื่อประโยชน์ในการแบ่งเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอนได้อย่างเหมาะสม
๕. การวัดและประเมินผล
กำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับภาระงานและตัวชี้วัด
การวัดและประเมินผลต้องสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร
วางแผนติดตาม ประเมินผลการทำงานของนักเรียนเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง
๖. สื่อ
ใช้ใบความรู้เรื่อง     วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น  
ใบงานเรื่องตารางเปรียบเทียบวัฒนธรรมไทยสมัยต่างๆ  และเอกสารประกอบการทำโครงงาน  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เบื้องต้นก่อนการเขียนเค้าโครงโครงงาน
ก่อนที่นักเรียนจะลงมือปฏิบัติจริงในชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และขั้นตอนการทำโครงงาน
การศึกษาข้อมูลและการวางแผนการทำงานก่อน ลงมือปฏิบัติจริง  เป็นการป้องกันและเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการเก็บข้อมูลและฝึกปฏิบัติ
ความรู้        ครูมีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด  หลักเกณฑ์การวัดและประเมินผล  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน  ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ 
คุณธรรม      ครูมีความรับผิดชอบ  ใฝ่เรียนรู้  ความยุติธรรม  ความขยัน  อดทน  เมตตาต่อนักเรียน    ความพอเพียง